ที่มาและความสำคัญ


ความหมายของลูกเสือไซเบอร์


ลูกเสือไซเบอร์ หมายถึง กลุ่มอาสาสมัครที่มีบทบาทในการดูแลเฝ้าระวัง ขับเคลื่อนความตระหนักรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสำนึก คุณธรรม และจริยธรรมเป็นผู้นำแก่สมาชิกในสังคม ผ่านการสอดช่องดูแลภัยคุกคามบนโลกออนไลน์และเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตรายต่อเด็กและเยาวชน




ประวัติภูมิหลังและกิจการลูกเสือไซเบอร์


เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ขณะนั้น) มีนโยบายจัดให้มีการจัดอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับกลุ่มลูกเสือจำนวน 200 คน ในวันที่ 1 กรกฎาคม ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มต้นงานภารกิจการพัฒนาบุคลากรลูกเสือสู่ลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) อย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมและสร้างเครือข่ายลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) ระดับประเทศต่อไป



ปี พ.ศ.2556 หลังจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเปลี่ยนแปลงเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาภัยออนไลน์ ท่ามกลางยุคดิจิทัลซึ่งอันตรายจากโลกออนไลน์มีพัฒนาการและทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้สานต่อและจัดทำโครงการลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) อีกครั้งยกระดับหลักสูตรและแนวทางเพื่อสร้างผู้นำทางดิจิทัลภายใต้บทบาทลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) ที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัล เพื่อให้อาสาสมัครลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) ทำหน้าที่เสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อปัญหาภัยออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชนร่วมถึงการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีวิจารญาณ และการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ในสังคมต่อไป




หน้าที่ของลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout)


"ลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout)" มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

   มีส่วนร่วมต่อการปกป้องสถาบันหลักของชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

   เป็นผู้นำผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

   สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามโลกออนไลน์และวิธีป้องกันตนเองให้แก่ผู้อื่น

   เป็นผู้ตื่นตัวทางดิจิทัล รู้เท่าทัน และพัฒนาทักษะการใช้งานสื่อออนไลน์อยู่เสมอ

   สามารถจัดการภัยคุกคามบนโลกออนไลน์อย่างถูกต้องเพื่อสร้างสังคมโลกออนไลน์ที่ปลอดภัย


ความหมายของลูกเสือไซเบอร์


ลูกเสือไซเบอร์ หมายถึง กลุ่มอาสาสมัครที่มีบทบาทในการดูแลเฝ้าระวัง ขับเคลื่อนความตระหนักรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสำนึก คุณธรรม และจริยธรรมเป็นผู้นำแก่สมาชิกในสังคม ผ่านการสอดช่องดูแลภัยคุกคามบนโลกออนไลน์และเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตรายต่อเด็กและเยาวชน




ประวัติภูมิหลังและกิจการลูกเสือไซเบอร์


เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ขณะนั้น) มีนโยบายจัดให้มีการจัดอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับกลุ่มลูกเสือจำนวน 200 คน ในวันที่ 1 กรกฎาคม ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มต้นงานภารกิจการพัฒนาบุคลากรลูกเสือสู่ลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) อย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมและสร้างเครือข่ายลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) ระดับประเทศต่อไป



ปี พ.ศ.2556 หลังจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเปลี่ยนแปลงเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาภัยออนไลน์ ท่ามกลางยุคดิจิทัลซึ่งอันตรายจากโลกออนไลน์มีพัฒนาการและทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้สานต่อและจัดทำโครงการลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) อีกครั้งยกระดับหลักสูตรและแนวทางเพื่อสร้างผู้นำทางดิจิทัลภายใต้บทบาทลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) ที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัล เพื่อให้อาสาสมัครลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) ทำหน้าที่เสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อปัญหาภัยออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชนร่วมถึงการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีวิจารญาณ และการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ในสังคมต่อไป




หน้าที่ของลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout)


"ลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout)" มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

   มีส่วนร่วมต่อการปกป้องสถาบันหลักของชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

   เป็นผู้นำผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

   สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามโลกออนไลน์และวิธีป้องกันตนเองให้แก่ผู้อื่น

   เป็นผู้ตื่นตัวทางดิจิทัล รู้เท่าทัน และพัฒนาทักษะการใช้งานสื่อออนไลน์อยู่เสมอ

   สามารถจัดการภัยคุกคามบนโลกออนไลน์อย่างถูกต้องเพื่อสร้างสังคมโลกออนไลน์ที่ปลอดภัย